กิจกรรมและบทความ

03/02/2568

ผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567


เครดิตภาพ และข้อมูล : REIC ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์  สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.REIC.OR.TH


สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุที่มีภาวะ

พึ่งพิงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มติดบ้านและติดเตียงกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะสมองเสื่อม และการหกล้ม ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่าย

ด้านสาธารณสุขในการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุจำนวนมาก

ข้อมูลของกลุ่มพยากรณ์สุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คาดประมาณจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาพวะพึ่งพิงในอีก

16 ปีข้างหน้า หรือในปี 2583 จะมีผู้สูงอายุติดเตียงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพศชายคาดว่า จะเพิ่มจาก 81,000 ราย

ในปี 2564 เป็น 370,000 ราย และเพศหญิงคาดว่าจะเพิ่มจาก 18,000 ราย เป็น 211,000 ราย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวสะท้อนให้เห็น

ถึงสังคมไทย ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" และเตีรยมเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ "สังคมสูงอายุระดับสุดยอด" ซึ่ง

จำเป็นต้องมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้สูงอายุ

โครงการ Nursing Home ทั่วประเทศ มีจำนวน 832 ดครงการ 22,273 เตียง มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70.9

โดยใน 10 จังหวัดแรกที่มีจำนวนเตียงมากที่สุด จะเป็นจังหวัดที่ผู้สูงอายุชาวไทย และชาวต่างชาติมีความนิยมอยู่อาศัย

มีจำนวนเตียงรวมกัน 17,767 เตียง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.8 ของจำนวนเตียงทั้งหมดทั่วประเทศ โดยพบว่า กรุงเทพมหานคร

มีจำนวนเตียงเปิดให้บริการมากที่สุดเป็นอันดับแรก 8,986 เตียง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.3 ของจำนวนเตียงทั้งหมดทั่วประเทศ 

มีอัตราการเข้าพักร้อยละ 69.2 แต่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเตียงเปิดให้บริการ 963 หน่วย อยู่ในอันดับ 6 

แต่มีอัตราการเข้าพักสูงที่สุดร้อยละ 76.9 

เนื้อหาเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้ในเว็บไซต์ : www.reic.or.th 

ผลการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

ที่เป็นปัจจุบัน การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างของรายได้และความต้องการของผู้สูงอายุและลูกหลาน

ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ และจำเป็นจะต้องมีกลไกทางการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาโครงการ

ที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในประเทศไทยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง เช่น การให้สินเชื่อสำหรับการเช่า

ระยะยาว (Long-term Lease) หรือการซื้อสิทธิ์การอยู่อาศัย (Right to Occupy) ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและฐานะของ

ผู้สูงอายุแต่ละรายเพื่อไม่ให้เป็นภาระให้ลูกหลานในอนาคต




Recommended articles

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ กรุงเทพฯ - ปริมณฑล (ช่วง 9 เดือนแรกปี 2567)

ดูเพิ่มเติม

การให้ความรู้ทางการเงินกับพนักงานในองค์กร

ดูเพิ่มเติม

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 3 ปี2567

ดูเพิ่มเติม

ผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567

ดูเพิ่มเติม

กิจกรรม CSR ขัดบ่อเต่าทะเล และปล่อยเต่าสู่ท้องทะเล

ดูเพิ่มเติม