กิจกรรมและบทความ

20/02/2568

5 อันดับ ราคาที่ดินเปล่า ก่อนการพัฒนาตามเส้นทางรถไฟฟ้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2567

Credit ข้อมูล และภาพ : REIC -ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

REIC รายงานการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 แสดงผลผ่านภาพรวมดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ฯ พบการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 401.4 จุด คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 และเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2567
.
?อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของราคาชะลอลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของการลงทุนในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากปัจจัยกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ลดลง
.
? 5 อันดับ พื้นที่ที่ราคาที่ดินปรับตัวสูงสุด (YoY)
?อันดับ 1 ที่ดินย่านนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 59.6%
?อันดับ 2 ที่ดินย่านสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 44.2%
?อันดับ 3 ที่ดิน่ยานเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดิน สูงขึ้น 27.3%
?อันดับ 4 ที่ดินย่านกรุงเทพชั้นใน (ประกอบด้วย เขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และบางรัก) ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 16.4%
?อันดับ 5 ที่ดินย่านบางเขน-สายไหม-ดอนเมือง-หลักสี่-มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 1.2%
.
การเติบโตของราคาที่ดินในพื้นที่รอบนอกได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนและมอเตอร์เวย์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการเดินทาง ขณะที่ราคาที่ดินในเขตเมืองมีอัตราเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ดินว่างเปล่าหายากขึ้นและมักถูกพัฒนาเป็นโครงการ Mixed-use
.
??พื้นที่ที่มีราคาที่ดินเติบโตสูงสุดตามแนวรถไฟฟ้า (YoY)
⏫MRT และสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) +16.4%
⏫สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) +15.6%
⏫สายสีเขียว (คูคต-ลำลูกกา) +10.1%
⏫สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) +10.0%
⏫สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค), สายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก), สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) +9.2%
.
พื้นที่ที่มีการปรับขึ้นของราคาที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ มักเป็นพื้นที่ที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว หรือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ โดยเฉพาะในเขตคลองเตย ดินแดง และจตุจักรที่ได้รับผลบวกจากการพัฒนาเส้นทาง MRT
.
?แนวโน้มและปัจจัยขับเคลื่อนตลาดที่ดิน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าและมอเตอร์เวย์ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาที่ดิน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในภาวะระมัดระวังจากกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ลดลง ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อที่ดินของนักพัฒนาโครงการชะลอตัว
.
? อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ?

Recommended articles

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ กรุงเทพฯ - ปริมณฑล (ช่วง 9 เดือนแรกปี 2567)

ดูเพิ่มเติม

การให้ความรู้ทางการเงินกับพนักงานในองค์กร

ดูเพิ่มเติม

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 3 ปี2567

ดูเพิ่มเติม

ผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567

ดูเพิ่มเติม

ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตโรงงาน

ดูเพิ่มเติม