26/3/2568
เครดิตข้อมูล และภาพ : REIC ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
REIC รายงาน “ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในพื้นที่ EEC ไตรมาสที่ 4 ปี 2567” โดยพบว่าค่าดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งค่าดัชนีในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 อยู่ที่ 323.9 จุดอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิด COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 14.0 ต่อไตรมาส
การปรับตัวขึ้นของราคาที่ดินในพื้นที่ EEC มีปัจจัยสำคัญมาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น
ความต้องการที่ดินจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้กับแรงงานไทยและต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่
การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินในแต่ละจังหวัด
จังหวัดชลบุรี
ดัชนีราคาที่ดินอยู่ที่ 447.6 จุด
เพิ่มขึ้นมากที่สุด ในพื้นที่ EEC โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.8 (YoY) และ ร้อยละ 19.7 (QoQ)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากกลุ่มนักลงทุนจีนย้ายฐานการผลิตมายังจังหวัดชลบุรีมากขึ้น
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (Government All-Service Center) ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ช่วยให้การดำเนินธุรกิจสะดวกขึ้นจังหวัดระยอง
ดัชนีราคาที่ดินอยู่ที่ 203.6 จุด
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 (YoY) และ ร้อยละ 5.5 (QoQ)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานผลิตและนิคมอุตสาหกรรม ความต้องการที่ดินเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการตั้งฐานการผลิตใหม่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ดัชนีราคาที่ดินอยู่ที่ 197.7 จุด
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 (YoY) แต่ ลดลงร้อยละ -0.2 (QoQ)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาลดลง สืบเนื่องจากการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นใน EECทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินมากที่สุด
จากการวิเคราะห์ของ REIC พบว่า 5 อันดับทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินสูงสุด มีดังนี้:อันดับ 1: อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.3 (YoY)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่นี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจใน EECอันดับ 2: อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 (YoY)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของเมืองพัทยา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม โรงแรม และที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ รองรับทั้งนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่อันดับ 3: อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.6 (YoY)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และได้รับความนิยมจากนักลงทุนญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขยายตัวของธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งอันดับ 4: อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 (YoY)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตของภาคการผลิตและโลจิสติกส์อันดับ 5: อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 (YoY)
ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม มีศักยภาพในการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรมในอนาคตกล่าวโดยภาพรวม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินสูงสุด เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ขณะที่จังหวัดชลบุรี มี 3 อำเภอที่ติดอันดับสูงสุด ได้แก่ บางละมุง ศรีราชา และพนัสนิคม ซึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรามีอำเภอแปลงยาวที่เติบโตโดดเด่น จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าแนวโน้มราคาที่ดินใน EEC จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรม การลงทุนจากต่างชาติ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ กรุงเทพฯ - ปริมณฑล (ช่วง 9 เดือนแรกปี 2567)
ดูเพิ่มเติมการให้ความรู้ทางการเงินกับพนักงานในองค์กร
ดูเพิ่มเติมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 3 ปี2567
ดูเพิ่มเติมผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567
ดูเพิ่มเติมขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตโรงงาน
ดูเพิ่มเติม